AThaisilk Home  English     

 

 

เกี่ยวกับเรา
มีอะไรใหม่
Product ผลิตภัณฑ์
นานาสาระเกี่ยวกับผ้าไหมไทย
F.A.Q.
ลูกค้าสัมพันธ์
คำแนะนำ
Contact us ติดต่อเรา

นานาสาระเกี่ยวกับผ้าไหมไทย จาก AThaisilk.lycos.com

Thai silk History ประวัติผ้าไหมไทย

                ผ้าไหมไทย  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า 3,000 ปี มาแล้ว  โดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบน จนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น

                ในอดีตผ้าไหมเป็นที่รู้จักกันในวงแคบๆ ของชุมชนที่ผลิตและใช้กันภายในกลุ่ม สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีวิสัยทัศน์ยาวไกล ได้ทรงนำผ้าไหมออกสู่ตลาดโลก จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Thai Silk หรือผ้าไหมไทย อย่างแพร่หลาย และการบินไทย ที่เป็นสายการบินแห่งชาติ ยังนำไปใช้เป็นคำขวัญว่า Smooth as Silk

การดูแลรักษาผ้าไหมไทยอย่างถูกวิธี

ผ้าชิ้น สำหรับผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่
ก่อนจะนำผ้าไหมไปตัด ควรจะนำไปแช่น้ำหรืออบไอน้ำ ก่อนเพื่อให้ผ้าไหมคงรูปได้ดีขึ้นหลังการตัดเย็บ

 1. การซัก ทำความสะอาดผ้าไหม
1.1 ควรทำความสะอาดผ้าไหมให้ดูใหม่อยู่เสมอด้วยการซักด้วยน้ำยาซักแห้ง ชนิดอ่อนทุกครั้งไม่ควรซักด้วยผงซักฟอก และจะถนอมผ้าได้ดียิ่งขึ้นหากเป็นน้ำยาซักแห้งสำหรับซัก ทำความสะอาดผ้าไหมโดยเฉพาะ

1.2 ไม่แนะนำให้ซักผ้าไหมด้วยเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้ผ้าไหมยับมาก ผ้าดูเป็นขุยและทำให้ รีดยาก ควรซักผ้าไหมด้วยมือด้วย ขยี้และบิดเบาๆ ไม่ควรขยี้หรือบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ผ้าเสียทรงได้

 
1.3 ไม่ควรแช่น้ำหรือน้ำยาซักต่างๆ แม้แต่น้ำยาซักแห้งใว้นานโดยเฉพาะ ผ้าไหมที่สีสด เช่น สีฟ้าสด สีชมพูสด สีส้มสด หลังจากซักเสร็จแล้วควรสลัดผ้าไหมให้คลายตัวและไม่ย่นก่อนนำไปตาก
เมื่อผ้าแห้งจะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่ายขึ้น


2. การตากผ้าไหมภายหลังการซัก ทำความสะอาด
2.1 ควรตากในที่ร่ม หรือแดดอ่อนๆ เพื่อป้องกันสีซีด เนื่องจากแสงแดด หรือแสง อัลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet)
2.2 ก่อนที่จะตากผ้า ควรสลัดเบาๆ ให้ผ้าคลายตัวก่อนตาก เพื่อให้ง่ายต่อการรีดเรียบ


3. การรีดผ้าไหม
3.1 ในการรีด แนะนำให้รีดด้วยเตารีดไอน้ำ

3.2 สำหรับเตารีดความร้อนควรใช้ไฟอ่อนและควรมีผ้าบางๆรองรีด ไม่ควรรีดโดยตรงที่ผ้าไหม

3.3 กรณีที่ต้องการใช้น้ำรีดผ้าเรียบ ควรใช้ตามสัดส่วนที่กำหนด ควรช้น้ำยารีดผ้าไหมโดยเฉพาะโดย ฉีดพรมน้ำยาให้ทั่ว แล้วใช้ความร้อนอ่อน

3.4 สำหรับผ้าไหมพิมพ์ลาย ให้ลดความร้อนลงจากปกติประมาณ 1-2 ระดับและควรใช้ผ้ารองรีด ไม่ควรรีดโดยตรงบนผ้าไหม เพราะจะทำให้ผ้าไหมขึ้นเงาไม่เท่ากันได้

4. การรีดผ้าไหมที่ยับมาก
ให้พรมน้ำหรือฉีดน้ำยาหมาดๆ แล้วพับให้เรียบร้อยใส่ถุงพลาสติก นำเข้าช่อง
แช่แข็งในตู้เย็นประมาณ 10 นาทีแล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดได้เรียบ
และง่ายกว่าเดิม เนื่องจากใยผ้ามีความชื้นอยู่ภายในอย่างสม่ำเสมอ

ผ้าไหมไทยชนิดต่างๆ

ประเภทของผ้าไหม

                รูปแบบผ้าไหมไทย มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันตามวิธีการผลิต และลวดลายของผ้า เช่น

  •  ผ้าไหมพื้น  เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัด โดยใช้เส้นยืนละเส้นพุ่งธรรมดา สีเดียวตลอดทั้งผืน หรืออาจใช้เส้นยืนหรือเส้นพุ่งต่างกันก็ได้

  •  ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าไหมที่มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวิธีการทำด้วยการมัดด้ายให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่ง หรือเส้นยืนด้วยเชือก แล้วนำไปย้อมสีทีละขั้นตอนของลายผ้าที่มัดไว้ เพื่อให้ได้สีและลวดลายตามที่ต้องการ แล้วจึงนำมาทอเป็นผืนผ้าตามลวดลายที่มัดไว้

  •  ผ้าขัด เป็นผ้าไหมแบบทอยกลายในตัวด้วยกรรมวิธีเขี่ย หรือสะกิดเส้นได้ยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งไปตามแนวเส้นยืน จังหวะการสอดเส้นด้าย จะทำให้เกิดลวดลายรูปแบบต่างๆ

  •  ผ้ายก เป็นผ้าไหมที่ทอยกลายในตัวโดยใช้เส้นพุ่งพิเศษเป็นดิ้นเงิน ดิ้นทอง โดยใช้วิธีการเก็บตะกรอเช่นเดียวกับการทอขิด มีทอกันอย่างแพร่หลายในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน ภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่รู้จักกันในชื่อของ ไหมพุมเรียง

  •  ผ้าจก เป็นผ้าที่ใช้วิธีการเก็บและทอเช่นเดียวกับผ้าขิด แต่มีการทำลวดลายด้วยการเพิ่ม เส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอด มีการสลับสีและลวดลายได้ต่างๆกัน

  •  ผ้าแพรวา เป็นผ้าทอที่มีลักษณะลวดลายผสมระหว่างลายขิด และลายจก บนผืนผ้า แพรวา หมายถึงผ้าที่มีความยาวประมาณวา เพื่อใช้เป็นสไบและใช้ในงานพิธีต่างๆตามวัฒนธรรมของเขตภูไท ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมตามสมัยนิยม

  •  ผ้าไหมบาติก  เป็นผ้าไหมสีพื้นและนำมาเขียนลวดลายบนเนื้อผ้า ด้วยขี้ผึ้ง ( wax ) แล้วนำไปย้อมสีตามต้องการ จากนั้นจึงนำไปต้มเพื่อให้ขี้ผึ้งออก ก็จะได้ลวดลายสีสันสวยงาม

 

    Hit Counter

    หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซท์นี้สามารถติดต่อได้ที่ (662) 721-1890 และ (01) 838 - 7491 หรือผ่านทางอีเมล์ของบริษัทได้ที่
    AThaisilk@hotmail.com
ลิขสิทธิ์ © 2002 AThaisilk สงวนลิขสิทธิ์               ปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด: 08/05/04